กัญชา ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
ชื่อสมุนไพร กัญชาชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น ปาง (ไทยใหญ่ – แม่ฮ่องสอน) , ยานอ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), คุนเช้า (จีน) , ต้าหม่า (จีนกลาง)ชื่อวิทยาศาสตร์ Cannabis sativa subsp. indica (Lam.)ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cannabis indica Lam.ชื่อสามัญ Marijuana, Marihuana, Ganja, Hashish, Reeferวงศ์ CANNABACEAE
ถิ่นกำเนิดกัญชา
กัญชา เป็นพืชดั้งเดิมที่มีอยู่มากในทั่วโลกซึ่งขึ้นอยู่ในเขตอบอุ่นของทวีปเอเชียและยูโรป จากการสันนิษฐานว่ามีการกระจายพันธุ์เป็นบริเวณกว้างอยู่ทางตอนกลางของทวีป ตั้งแต่ทะเลสาบแคสเปียนจนถึงทางตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัยและทางตะวันตกของไซบีเรีย เป็นพืชที่ได้รับการบันทึกไว้ในเอกสารเก่าโบราณหลายเล่มว่ามีการปลูกเพื่อใช้ประโยชน์เป็นพืชเส้นใยและปลูกเป็นพืชเสพติดมาแต่ดึกดำบรรพ์ ในประเทศจีนมีการใช้เส้นใยเพื่อถักทอมาตั้งแต่ 5,000-4,000 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาในศตวรรษแรก จึงมีการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเส้นใยมาทำกระดาษ ในประเทศยุโรป มีการใช้ประโยชน์จากพืชกัญชามาตั้งแต่ 700 ปีก่อนคริสตศักราช ส่วนใหญ่ใช้ทำเป็นเชือกเพื่อการล่าสัตว์ ในช่วงศตวรรษที่ 14 ถึงศตวรรษที่ 15 ในประเทศอิตาลีมีการปลูกพืชกัญชากันมากเพื่อนำเส้นใยมาทำเชือกใช้ในเรือเดินทะเลเนื่องจากมีความเหนียวและทน นอกจากนี้ พบว่า มีการปลูกพืชกัญชากระจายไปทั้งในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้อีกด้วย
ส่วนประเทศไทยก็มีประวัติศาสตร์เก่าแก่พบว่ามีการใช้กัญชาช่วงต้นรัตนโกสินทร์โดยมีภาพจิตรกรรมฝาผนังจากวัดพระแก้วจารึกไว้สำหรับในประเทศไทยปลูกมากตามแนวเขาในภาคเหนือ แม้จะได้มีการใช้กัญชาเป็นยามาแต่โบราณมากกว่า 3,000 ปี แต่กัญชาก็จัดเป็นยาเสพติด ทำให้เป็นพืชต้องห้าม ในประเทศไทยการปลูกและใช้กัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
ในอดีตชาวเขาเผ่าต่างๆ ทางภาคเหนือของไทยมีการใช้เส้นใยจากลำต้นของต้นกัญชาเพศผู้ โดยใช้เส้นใยจากลำต้นที่ออกดอกใหม่ มีอายุระหว่าง 3-4 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่เส้นใยมีความเหนียว เบาและเป็นสีขาวเหมาะสำหรับการใช้เป็นเส้นใยทอผ้าอีกด้วย
ประโยช์และสรรพคุณของกัญชา
กัญชาเป็นพืชประเภทป่านและปอ ซึ่งมีเส้นใยเหนียวมาก ในอดีตจึงนิยมใช้ในการทำประโยชน์ด้านการทำเป็นเชือกรัดต่าง ๆ เช่น เชือกในการเดินเรื่องทอเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมไปถึง ถูกนำไปผสมกับอาหารเพื่อช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร
นอกจากนี้ในปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยว่า เส้นใยจากกัญชาร้อยละ 80 เป็นเซลลูโลสซึ่งย่อยสลายได้ง่าย ไม่เกิดพิษภัย ลำต้นสามารถใช้ทำกระดาษสังเคราะห์ได้ดีกว่ากระดาษที่ทำจากไม้ยืนต้นจึงสามารถนำมาใช้ทำกระดาษแทนต้นไม้ได้เพราะ กัญชาเป็นพืชที่มีวงชีวิตเพียง 120 วัน สามารถที่จะปลูกได้ 10 ตันต่อพื้นที่ 1 เอเคอร์ (1 เอเคอร์ = 2 ไร่) ภายในเวลา 4 เดือน ปลูกได้เร็วกว่าฝ้าย 4 เท่า ได้น้ำหนักมากกว่าฝ้าย 3 เท่า สหรัฐอเมริกาพบว่ากัญชาสามารถปลูกและนำมาทำกระดาษได้มากเป็น 4 เท่าของการทำไม้ยืนต้นนอกจากนี้การทำกระดาษจากต้นกัญชาไม่ต้องใช้คลอรีนเหมือนการทำจากไม้ ซึ่งทำให้เกิดสารไดออกซิน นอกจากนั้นเส้นใยของต้นกัญชาใช้ทำกระดาษได้ดีกว่าไม้มาก
ส่วนในด้านสรรพคุณทางยานั้น สรรพคุณทางการแพทย์แผนโบราณระบุว่า ช่อดอกตัวเมีย บำรุงประสาท แก้ปวดประสาท ทำให้เคลิ้มฝันเมล็ด ชูกำลัง เจริญอาหาร ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ แต่หากกินมาก อาจทำให้เกิดอาการหวาดกลัวหมดสติทั้งต้น บำรุงประสาท เจริญอาหาร ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ
ในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ มีตำรับยาไทยที่เข้ากัญชา จำนวน 11 ตำรับ มาจากพระคัมภีร์ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ พระคัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัด)
ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ มีตำรับยาไทยที่เข้ากัญชา จำนวน 3 ตำรับ โดยพบตำรับยาที่เข้ากัญชาโดยมีกัญชาเป็นส่วนประกอบหลัก จำนวน 2 ตำรับ ได้แก่ ตำรับยาที่ชื่อว่า ยาทิพกาศ ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นใบกัญชาถึง 16 ส่วน และตำรับยาศุขไสยาศน์ มีส่วนประกอบหลักเป็นใบกัญชาถึง 12 ส่วน
ส่วนทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้มีผลการศึกษาวิจัยหลายชิ้น ระบุว่า ผลการศึกษาในระดับพรีคลินิก พบว่าสารกลุ่ม cannabinoids มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายด้าน ฤทธิ์ที่สำคัญได้แก่ต้านมะเร็ง ต้านการอาเจียน กระตุ้นความอยากอาหาร แก้ปวด กำจัดความกระวนกระวายและทำให้นอนหลับ ส่วนงานวิจัยทางคลินิกที่เกี่ยวกับกัญชาและสารกลุ่ม cannabinoids มีรายงานว่า THC มีฤทธิ์ต้านมะเร็งสมองที่เรียกว่า Glioblastoma การให้ CBD สามารถลดการกลับมาเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้ รวมไปถึง โรคพาร์กินสัน จากงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากกัญชา ที่เรียกว่า Cannabidiol (CBD) หรือการใช้ยา Nabilone ช่วยให้ผู้ป่วย มีอาการเจ็บปวดน้อยลง อาการสั่งลดลง และขยับตัวได้ดีขึ้น
โรคลมชัก การใช้สารสกัดน้ำมันกัญชา (Cannabis Extracts) หรือ การใช้สารสกัดจากกัญชาที่เรียกว่า Cannabidiol (CBD) ช่วยให้ผู้ป่วย มีอาการชักลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์และมีความถึงเครียดลดลง งานวิจัยยังพบว่า ผู้ป่วยมีความทรงจำที่ดีขึ้น มีสมาธิและจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น สมองมีการพัฒนามากขึ้น สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดีขึ้น และนานหลับได้ง่ายขึ้น งานวิจัยยังพบอีกว่า การใช้สารสกัดน้ำมันกัญชา ไม่มีผลข้างเคียงอื่น ๆ กับผู้ป่วยโรคลมชัก
โรคมะเร็ง จากการศึกษาวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งและได้รับ