ปวดท้องน้อยด้านซ้าย อันตรายไหม และเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ ?

ปวดท้องน้อยด้านซ้าย อันตรายไหม และเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ ?

ปวดท้องน้อยด้านซ้าย เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งในบางรายอาจเป็นแล้วหายได้เอง หรือเป็นเรื้อรัง และรุนแรงจนอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส มีข้อมูลเกี่ยวกับ ปวดท้องน้อยด้านซ้ายอันตรายไหม และเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ มาแชร์กัน

ปวดท้องน้อยด้านซ้าย คืออะไร ?

ปวดท้องน้อยด้านซ้าย เป็นอาการเกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบอวัยวะภายในที่อยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งบางครั้งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางอย่าง โดยสามารถบ่งบอกได้ถึงปัญหาของสุขภาพที่แตกต่างกันไป

อวัยวะใดบ้างที่อยู่บริเวณ ท้องน้อยด้านซ้าย

  • บางส่วนของลำไส้เล็ก
  • ลำไส้ใหญ่ตำแหน่ง Descending และ Sigmoid
  • ท่อไตด้านซ้าย
  • ระบบอวัยวะสืบพันธุ์
  • รังไข่ข้างซ้าย และท่อมดลูกในบางราย

สาเหตุของอาการ ปวดท้องน้อยด้านซ้าย จากโรคต่าง ๆ

สาเหตุทั่วไปของอาการ ปวดท้องน้อยด้านซ้าย จากโรคต่าง ๆ

1. โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis)

เกิดจากการที่ ลำไส้ใหญ่อ่อนแอ มีการอักเสบของกระเปาะบริเวณเยื่อบุลำไส้ใหญ่ จนเกิดเป็นถุงเล็ก ๆ ขึ้นมาทำให้ลำไส้ใหญ่บริเวณนั้นบวมแดงจนเป็นฝี แตกเป็นแผล นำไปสู่การปวดท้องน้อยด้านซ้าย หรือด้านขวาอย่างเฉียบพลัน

ลักษณะอาการของโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ

  • กดเจ็บบริเวณท้องน้อยด้านซ้าย หรือขวา
  • มีอาการปวดท้องรุนแรงเรื้อรัง
  • มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • มีอาการหนาวสั่น
  • รู้สึกเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการเหนื่อยและอ่อนเพลีย
  • ท้องอืด ท้องผูก บางรายอาจมีอาการท้องเสีย

วิธีการรักษาอาการ ปวดท้องน้อยด้านซ้าย จากโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ

หากมีอาการไม่รุนแรงสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยตนเอง โดยสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิตหมั่น รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ กากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในอีกกรณีแพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะโดยส่วนมากอาการอาจจะดีขึ้น หรือหายขาด ทั้งนี้หากมีอาการรุนแรงมาก แพทย์จะทำการผ่าตัดและพิจารณาว่าจะใช้การผ่าตัดแบบใด

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

  • มีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย หรือขวารุนแรงขึ้น เมื่อขยับตัว
  • อุจจาระปนมีเลือดมากผิดปกติ มีสีแดงหรือสีดำ
  • มีลม หรืออุจจาระออกมาจากท่อปัสสาวะ ในขณะปัสสาวะ

2. แก๊สจากกระบวนการย่อยอาหาร (Gas)

การขับแก๊สและการเรอ เกิดจากกระบวนการย่อยอาหารตามปกติ แต่หากรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ไขมันสูง ทอด มีรสเผ็ด น้ำอัดลม หรือถั่วต่าง ๆ จะทำให้เกิดกรดและแก๊สออกมาในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังมีโรคบางชนิดที่อาจทำให้เกิดแก๊สส่วนเกินได้ เช่น อาหารไม่ย่อย โรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ ภาวะพร่องเอนไซม์ แผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้แปรปรวน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการปวดจุก ปวดท้องน้อยด้านซ้าย หรือปวดจุกบริเวณท้องซ้ายด้านบน ทำให้รู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวก

ลักษณะอาการ แก๊สเกินในกระบวนการย่อยอาหาร

  • เรอ
  • ผายลม
  • ท้องอืด
  • ปวด และอึดอัดบริเวณท้อง

วิธีการรักษาอาการ ปวดท้องน้อยด้านซ้าย จากแก๊สเกินในกระบวนการย่อยอาหาร

โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ สามารถหายได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทาน รวมไปถึงอาหารที่ทาน เช่น เลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส ทานอาหารให้ช้าลง เคี้ยวให้ละเอียด หรือเดินย่อยหลังจากทานอาหารเสร็จ จะสามารถช่วยลดแก๊สส่วนเกินได้ หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และทำการรักษาต่อไป

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องเสีย เป็นระยะเวลามากกว่า 2 – 3 สัปดาห์
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • น้ำหนักลด
  • มีพฤติกรรมการขับถ่ายที่เปลี่ยนไป อุจจาระเป็นสีดำ หรือเป็นเลือด

3. ไส้เลื่อน (Hernia)

เกิดจากการที่เนื้อเยื่อ เช่น เนื้อไขมัน ลำไส้ หรือ กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเคลื่อนตัวโผล่ผ่านทางจุด หรือบริเวณที่มีความอ่อนแอบนผนังหน้าท้องที่อาจเป็นโดยกำเนิด หรือเกิดจากการผ่าตัดจนทำให้ผนังช่องท้องบริเวณนั้นอ่อนแอ ซึ่งก้อนเนื้อนั้นโผล่ออกมานอกช่องท้องแต่อยู่ยังอยู่ใต้ผิวหนังมีลักษณะนูนขึ้นมาบริเวณหน้าท้อง

ลักษณะอาการ ไส้เลื่อน

ในช่วงแรก ๆ อาจไม่มีอาการเจ็บปวด แสดงออกมาเห็นได้ชัดเจน แต่สามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

  • ลักษณะตุงนูนยื่นออกมาบริเวณที่เคยผ่าตัด หรือบริเวณขาหนีบ
  • รู้สึกแน่นท้อง
  • ปวดแสบปวดร้อน บริเวณท้องน้อย
  • ท้องผูก
  • อาเจียน

วิธีการรักษาอาการ ไส้เลื่อน

เบื้องต้นแพทย์จะให้ยาลดปวด และจัดท่าเพื่อดันไส้เลื่อนกลับ หรือหากรุนแรงเกินไปจะใช้วิธีการผ่าตัด

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

เมื่อมีอาการจุก หรือเจ็บปวดบริเวณมีก้อนตุงนูน แน่นท้อง ปวดแสบปวดร้อน ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนของ อาการในระดับรุนแรง จำเป็นที่จะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อได้รับการผ่าตัดด่วน

4. นิ่วในไต (Kidney Stones)

เกิดจากแร่ธาตุแข็งชนิดต่าง ๆ ที่รวมตัวกันเป็นก้อน ซึ่งมักเกิดขึ้นบริเวณไต รวมไปถึงสามารถพบได้บ่อยในบริเวณระบบทางเดินปัสสาวะเช่นกัน ทั้งนี้หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่มากจนเกินไป อาจไปปิดกั้น และสร้างบาดแผลให้กับท่อไต ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้

ลักษณะอาการ นิ่วในไต

  • ปวดหลัง ปวดท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา
  • รู้สึกปวดร้าวลงไปถึงบริเวณขาหนีบ
  • ปวดบีบเป็นระยะ และปวดรุนแรงเป็นช่วง ๆ ที่บริเวณดังกล่าว
  • พฤติกรรมการปัสสาวะที่เปลี่ยนแปลงไปน้อย เช่น ปวดปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นแรง มีเลือดปน หรือปัสสาวะมีสีแดง ชมพู และน้ำตาล
  • รู้สึกเจ็บขณะปัสสาวะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการหนาวสั่น เป็นไข้

วิธีการรักษาอาการ นิ่วในไต

หากก้อนนิ่ว ไม่มีขนาดใหญ่มาก แพทย์จะแนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อเป็นการขับก้อนนิ่วออกมาทางปัสสาวะ ทั้งนี้หากก้อนนิ้วมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะขับออกมาได้แพทย์จะทำการรักษา ด้วยวิธีการใช้เครื่องสลายนิ่ว การส่องกล้องสลายนิ่ว หรือการผ่าตัด

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

รับประทานยาบรรเทาปวดแล้วก็ยังไม่หาย และมีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย หรือขวา พร้อมกับมีไข้สูงร่วมด้วย

5. อาการปวดประจำเดือน (Menstrual Cramps)

ประจำเดือนเกิดจากการผลัดเยื่อบุมดลูกเดือนละครั้ง โดยส่วนมากมักมีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย ขวา หรือทั้งสองฝั่ง ซึ่งทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้

ลักษณะอาการ ปวดประจำเดือน

  • ปวดท้องน้อยด้านซ้าย หรือขวา
  • อาการปวดท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา มักเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 1 – 3 ของการเป็นประจำเดือน
  • ปวดหนักและปวดอย่างต่อเนื่อง
  • อาการปวดร้าวสามารถลามไปถึงหลังส่วนล่าง หรือช่วงขา
  • ในบางรายจะมีอาการ ปวดหัว วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย

วิธีการบรรเทาอาการ ปวดประจำเดือน

  • ใช้ถุงร้อนประคบบริเวณที่ ปวดท้องน้อยด้านซ้าย หรือขวา
  • นวดบริเวณท้องน้อย
  • ทานอาหารเบา ๆ และมีสารอาหารครบ 5 หมู่
  • ผ่อนคลายร่างกายด้วยการทำโยคะ

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

-มีอาการปวดหลังจากใส่ห่วงอนามัย -มีอาการเจ็บปวดท้องน้อยด้านซ้าย และขวา ทุกครั้งต่อเนื่องมากกว่า 3 รอบของการเป็นประจำเดือน -ลิ่มเลือดไหลออกมาเยอะกว่าปกติ -ปวดเกร็งเป็นตะคริว ร่วมกันกับอาการคลื่นไส้ และท้องร่วง -ปวดอุ้งเชิงกรานเมื่อไม่มีประจำเดือน

6. ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

เกิดจากการที่เนื้อเยื่อคล้ายกับเยื่อบุมดลูกเจริญนอกโพรงมดลูก เช่น เยื่อบุช่องท้อง รังไข่ ผนังลำไส้ ผนังกระเพาะปัสสาวะ หรือ ผนังเยื่อที่บุเชิงกราน ทั้งนี้สาเหตุอาจมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเมื่อเป็นรอบเดือน

ลักษณะอาการ ของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

  • ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ โดยปวดท้องน้อยด้านซ้าย และขวา
  • มีอาการปวดเกร็งตะคริว นานกว่า 1 – 2 สัปดาห์ระหว่างเป็นรอบเดือน
  • เลือดออกระหว่างรอบเดือนมากผิดปกติ
  • มีบุตรยาก
  • รู้สึกเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • มีอาการปวดหลังส่วนล่าง ระหว่างรอบเดือน

วิธีการรักษาอาการ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

โดยแพทย์จะทำการรักษาโดยการให้ยา กลุ่มต้านการอักเสบ หรือยาปรับฮอร์โมน และรักษาโดยการผ่าตัดเอารอยโรคของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ออก

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

  • มีอาการปวดหน่วงช่วงทวารหนัก ระหว่างมีรอบเดือน
  • ปวดท้องน้อยด้านซ้าย หรือขวาเรื้อรัง

7. โรคถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Cyst)

ถุงน้ำรังไข่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท แบบแรกไม่อันตราย คือ ถุงน้ำรังไข่แบบธรรมดา และแบบที่สอง แบบอันตราย คือ ถุงน้ำชนิดที่เป็นมะเร็ง โดยที่อาการผิดปกตินั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของถุงน้ำรังไข่ เช่น รังไข่ขยายใหญ่ขึ้น หรือมีอาการผิดปกติที่ส่งผลให้เกิดการบิดเกลียวของปีกมดลูก

ลักษณะอาการของ โรคถุงน้ำรังไข่

  • คลำเจอก้อนที่หน้าท้อง
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ
  • มีภาวะน้ำหนักขึ้น
  • เกิดสิว
  • มีอาการท้องอืด แน่นท้อง

วิธีการรักษาอาการ โรคถุงน้ำรังไข่

เมื่อสังเกตร่างกายไปสักระยะหนึ่งแล้ว รู้สึกได้ถึงความผิดปกติควรรีบเข้าพบแพทย์ในทันทีเพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรักษาต่อไป โดยแพทย์จะทำการรักษาด้วยการฉีดยา หรือการผ่าตัด

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

  • ปวดหน่วงบริเวณท้องน้อยด้านซ้าย หรือขวา
  • ปวดรอบเดือนมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
  • หน้าท้องขยายใหญ่ขึ้น
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด
  • ในบางรายมีอาการอ้วนขึ้น ทั้งที่มีพฤติกรรมการทานอาหารที่เหมือนเดิม

อาการร่วมเมื่อ ปวดท้องน้อยด้านซ้าย ที่ควรเข้าพบแพทย์

อาการร่วมเมื่อ ปวดท้องน้อยด้านซ้าย ที่ควรเข้าพบแพทย์

อาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย โดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็นเรื่องที่ปกติและสามารถหายไปได้เอง อย่างไรก็ตามหากเกิดขึ้นและมีอาการร่วมเหล่านี้ควรรีบเข้าแพทย์ในทันที

  • เป็นไข้
  • วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการท้องเสีย หรือท้องผูก
  • ขับถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระเป็นเลือด
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เกิดอาการช็อก เช่น ผิวหนังเย็นและชื้น หายใจเร็ว หน้ามืด หรือมีอาการอ่อนแรง

สรุป ปวดท้องน้อยด้านซ้ายอันตรายไหม และเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

ปวดท้องน้อยด้านซ้าย มักเป็นอาการปกติ และสามารถหายได้เอง แต่ในบางครั้งที่มีอาการปวดรุนแรง อาจมีสาเหตุมาจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ แก๊สเกินจากระบบย่อยอาหาร ไส้เลื่อน นิ่วในไต ประจำเดือน ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ โรคถุงน้ำรังไข่ เป็นต้น ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ จึงควรสังเกตร่างกายของตนเองอยู่สม่ำเสมอ หากพบอาการผิดปกติควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาต่อไป

ทั้งนี้ อาการปวดท้อง ถือเป็นหนึ่งใน 16 กลุ่มอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่สามารถเข้ารับยาได้ แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ตามร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ โดยสำหรับผู้ที่มี สิทธิบัตรทอง หรือ หลักประกันสุขภาพ 30 บาท ก็สามารถขอเข้ารับสิทธิ์ได้แล้วที่ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส กว่า 400 สาขา ทั่วประเทศ

ที่มา:

What’s Causing Pain in My Lower Left Abdomen? จาก Healthline

ท้องอืด วิธีแก้ เมื่อมีลมในท้อง อาหารไม่ย่อย ต้องทำอย่างไร จาก eXta Plus

รู้ไหม…ไส้เลื่อนเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Is the Rash on My Back Shingles ? จาก Healthline

What Everyone Should Know about Vaccine จาก CDC

Shingles จาก NHS

What Causes Painful Menstrual Periods and How Do I Treat Them? จาก Healthline

Menstrual cramps จาก Mayo Clinic

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Endometriosis จาก Healthline

โรคถุงน้ำรังไข่ หากเป็นแล้วอันตรายหรือไม่ จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Bình luận đã bị đóng.