ผักโขม ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
ชื่อสมุนไพร ผักโขมชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ผักขม, ผักโขม (ภาคกลาง), ผักโหม, ผักโหมเกลี้ยง (ภาคเหนือ), ผักหม (ภาคใต้, ภาคอีสาน), กะเหม่อลอเดอ (กะเหรี่ยง), Hinn choy (จีน)ชื่อวิทยาศาสตร์ Amaranthus lividus Linn.ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Amaranthus blitum subsp. oleraceus (L.) Costeaชื่อสามัญ Amaranth, Amaranth greenวงศ์ AMARANTHACEAE
ถิ่นกำเนิดผักโขม
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าผักโขมเป็นพืชที่มีสายพันธุ์อยู่กว่า 70 สายพันธุ์ทั่วโลก แต่ในบทความนี้ขอกล่าวถึงผักโขมสายพันธุ์ A .livdus L. หรือ Amaranth green ซึ่งเป็นผักโขมที่ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย ผักโขม (A .livdus L.) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นเดียวกันกับอีกหลายสายพันธุ์ โดยมีถิ่นกำเนิดบริเวณประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา รวมถึง มาเลเซีย อินโดนีเซียด้วย ดังนั้นจึงถือได้ว่าผักโขมพันธุ์นี้เป็นพืชเมืองของไทยที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป และมีการใช้ประโยชน์ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยจะพบได้ตามที่รกร้างทั่วไป ริมทาง ป่าทั่วไป ตามแปลงเกษตรของเกษตรกร รวมถึงมีการเพาะปลูกไว้จำหน่ายตามท้องถิ่นต่างๆ อีกด้วย
ประโยชน์และสรรพคุณผักโขม
- ช่วยบำรุงสายตา
- บำรุงกระดูก
- บำรุงกำลัง
- บำรุงสมอง
- ช่วยบำรุงฟัน
- แก้บิด
- แก้เป็นมูกเลือด
- แก้รำมะนาด
- แก้ริดสีดวงทวาร
- แก้ริดสีดวงจมูก
- แก้ผื่นคัน
- ช่วยดับพิษ
- แก้ไข
- แก้ไอ
- แก้รักษาฝี
- แก้แผลพุพอง
- แก้อาการไอหอบ
- แก้อาการแน่นหน้าอก
- แก้ดับพิษร้อนถอนพิษไข้
- แก้ขับปัสสาวะ
- แก้เด็กลิ้นเป็นฝ้า
- ช่วยขับเสมหะ
- ใช้ขับน้ำนม
- แก้ตกเลือด
- แก้หนองใน
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
ใช้บำรุงกำลัง, บำรุงสายตา, บำรุงสมอง, บำรุงกระดูกและฟัน, ดับพิษ, แก้ไข้, แก้บิด, ขับปัสสาวะ โดยใช้ผักโขมทั้งต้นไปปรุงอาหารรับประทาน ใช้ดับพิษร้อน แก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ โดยการนำรากต้มกับน้ำดื่ม ใช้รักษาแผลพุพองโดยการนำใบมาต้มน้ำตบ ใช้รักษาฝี แผลหนอง แผลพุพอง โดยการนำใบสดมาตำให้แหลกแล้วใช้ประคบบริเวณที่เป็น
ลักษณะทั่วไปของผักโขม
ผักโขม (A .livdus L.) จัดเป็นพืชล้มลุกปีเดียว สำต้นเล็กตั้งตรง ผิวเรียบสีเขียวลักษณะเป็นทรงกระบอก หรือ สามเหลี่ยมทู่ สูงได้ถึง 80 เซนติเมตร มักจะแตกกิ่งจากโคนต้น ใบออกเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับบนกิ่งขนาดเล็ก แผ่นใบมีลักษณะเป็นรูปไข่หัวกลับ-คล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โคนใบรูปสามเหลี่ยม ปลายเว้าตื้น หรือ ติ่งหนาม ใบเป็นสีเขียว หรือ มีจุดสีม่วงกระจายทั่ว ยาว 3-6 เซนติเมตร กว้าง 2-4 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบ หรือ ปลายช่อคล้ายช่อเชิงลด อาจเกิดบนกิ่งแขนง ดอกย่อยออกเป็นกระจุกแน่น ใบประดับ เป็นใบประดับย่อย รูปไข่ ปลายแหลม กลีบรวมมี 3 กลีบ สีเขียว ขอบใบบางใส ส่วนกลีบรวมเพศเมียรูปขอบขนาน กลีบรวมเพศผู้รูปช้อนยาวมากกว่า สำหรับเกสรเพศผู้จะมี 3 อัน และจะยาวเท่ากับกลีบรวมหรืออาจสั้นกว่าเล็กน้อยรังไข่ ในส่วนของรังไข่เป็นรูปขอบขนาน มียอดเกสรเพศเมีย 3 แฉก ผลมีลักษณะเป็นแบบผลกระเปาะ ทรงรีตามยาว ผิวเรียบ เมื่อแก่จะไม่แตก และมักจะมีกลีบรวมติดอยู่เมล็ด เมล็ดมีลักษณะนูนทั้งสองด้าน ผิวมัน ดำเข้ม-น้ำตาล กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร
การขยายพันธุ์ผักโขม
ผักโขมสามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดเป็นหลัก โดยมักจะเกิดเองตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันมีการนำเมล็ดมาเพาะขยายพันธุ์มากขึ้น
สำหรับวิธีการขยายพันธุ์ผักโขม สามารถทำได้โดยเริ่มจากการเตรียมดินปลูกควรใช้ดินร่วน หรือ ดินร่วนปนทรายผสมกับวัสดุทางการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เถ้า ขี้เลื่อย มูลสัตว์ เป็นต้น ในอัตราส่วนดินกับวัสดุ 2:1 แล้วเตรียมแปลงปลูกโดยการยกร่องแล้วไถพรวนดินร่วมกับการใส่วัสดุเหลือใช้ทางเกษตรข้างต้นในอัตรา 2-3 กิโลกรัม/ตารางเมตร
จากนั้นหว่านเมล็ดผักโขมทั้งแปลงหรือหว่านเป็นแถว โดยหากหว่านเมล็ดทั้งแปลงให้ใช้เมล็ดในอัตรา 10 กก./ไร่ ด้วยการหว่านเมล็ด และคราดดินกลบ 1-2 รอบ พร้อมรดน้ำให้ชุ่ม แต่หากหว่านเมล็ดเป็นแถว ควรให้มีระยะห่างระหว่างแถว 20-30 ซม. ในอัตราเดียวกัน พร้อมคราดดินกลบและรดน้ำให้ชุ่ม ทั้งนี้อัตราส่วนเมล็ดพันธุ์กับขนาดแปลงอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ขนาดลำต้น และทรงพุ่มของผักโขม หลังจากการหว