Avamys อวามิส ทำไมใช้พ่นเวลาแพ้ ซื้อที่ไหน ซื้อมาพ่นเองได้มั้ย
- Facebook iconแชร์
- Twitter iconทวีต
- LINE iconส่งไลน์
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ หลายๆทานที่มีลูกเป็นภูมิแพ้ น่าจะรู้จักยาพ่นจมูก ที่ชื่อว่า อวามิส (Avamys) เป็นอย่างดี เพราะเวลาไปโรงพยาบาลคุณหมอหลายๆทานก็มักจะให้ยาตัวนี้กลับมาใช้ที่บ้าน แต่สิ่งที่ตามมาคือ งง ครับ ยิ่ง ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ต้องจ่ายเงินเอง จะงง ตั้งแต่ราคายาว่าทำไมมันดูแพงกว่ายาพ่นจมูกอื่นๆ เวลาไปซื้อตามร้านขายยาส่ง กลับมาที่บ้าน ยิ่งงงกว่าเดิม เพราะรูปร่างหน้าตาสเปรย์ก็ไม่เหมือนกับสเปรย์ยี่ห้ออื่นๆอีก
สารบัญ (กดเลือกหัวข้อที่ต้องการอ่านได้)
- สเปรย์อวามิส (Avamys) ดีอย่างไร ใช้รักษาโรคอะไร
- ข้อมูลของยานี้
- ขนาดและวิธีการใช้
- วิธีการใช้ยานี้
- Avamys กับ Nasonex แตกต่างกันอย่างไร
- ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้
- ผลข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์
- ราคากลางในท้องตลาด
- 6 เรื่องสำคัญที่ควรรู้ก่อนใช้ยา Avamys
- บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่าย
- สรุปข้อมูลยา
- แหล่งที่มาของข้อมูล
สเปรย์อวามิส (Avamys) ดีอย่างไร ใช้รักษาโรคอะไร
Avamys คือ สเปรย์ที่ใช้ลดการอักเสบของโพรงจมูก โดยมีตัวยาสำคัญชื่อ Fluticasone furoate ที่อยู่ในรูป Micronised ซึ่งตัวยาจะถูกพ่นออกมาเป็นระอองขนาดเล็ก ทำให้ตัวยาผ่านเข้าไปจับกับตัวรับในโพรงจมูกได้ลึก ซึ่งเป็นจุดเด่นของยานี้เลยก็ว่าได้ โดยยานี้จะจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย ไม่สามารถสั่งซื้อยาออนไลน์ ที่ไม่มีเภสัชกรคอยดูแลอย่างร้าน WW PHARMACY ของเรา
โดยตัวยานี้จัดอยู่ในกลุ่มยาสเตียรอยด์ ซึ่งจัดอยู่ในระดับความแรงอ่อน – ปานกลาง จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ ยาพ่นจมูก Nasonex , Rhinocort ซึ่งในแต่ละครั้งที่พ่นยาตัวนี้ จะได้รับยา 27.5 ไมโครกรัม ต่อการพ่น 1 ครั้ง ทำให้ยานี้สามารถใช้ได้ทั้งเด็กเล็ก(2 ปีขึ้นไป – ผู้สูงอายุ) ได้เลย และนอกจากนี้เราพบว่ายาดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อยอีกด้วย ทำให้ลดผลข้างเคียงทีจะไปมีผลกระทบกับอวัยวะอื่นๆได้ ทำให้ยานี้มีความปลอดภัยค่อนข้างดีเลยทีเดียว
ข้อมูลของยานี้
- ตัวยา Fluticasone ที่อยู่ใน Avamys จะมีจุดเด่นกว่ายาพ่นสเตียรอยด์อื่นๆคือ ยาตัวนี้มีสรรพคุณที่ช่วยลดการอักเสบและการแพ้ได้ทั้งบริเวณโพรงจมูกและเยื่อบุดวงตา (ถึงแม้เวลาใช้จะใช้พ่นไปที่จมูกอะน่ะ)
- ยากลุ่มนี้เใช้ได้ทั้งรักษาโรคเยื่อบุอักเสบจากภูมิแพ้ชนิดเป็นเฉพาะฤดูกาล (Seasonal allergic rhinitis) และ โรคเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบตลอดทั้งปี (Perennial allergic rhinitis)โดยยาจะไปช่วยลดอาการกำเริบของอาการแพ้ เช่น น้ำมูกไหล คันจมูก จาม น้ำตาไหลจากภูมิแพ้
- นอกจากนี้ยานี้ยังช่วยลดอาการคัดจมูกได้อีกด้วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของยาสเตียรอยด์ตัวนี้ฃ
- เมื่อเทียบกับยาพ่นจมูกสเตียรอยด์ตัวอื่นๆแล้วเราจะพบว่ายานี้มีความสามารถในการจับกับตัวรับได้ดีกว่ายาพ่นสเตียรอยด์ตัวอื่นๆ ทำให้ยาไปออกฤทธิ์ลดอาการแพ้ การอักเสบได้ดีและตรงจุด และไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับระบบอื่นๆในร่างกาย
ขนาดและวิธีการใช้
- ผู้ใหญ่ – วัยรุ่นอายุมากกว่า 12 ปี ขนาดยาเริ่มต้น แนะนำคือ พ่นจมูกข้างละ 2 ครั้ง วันละครั้ง เมื่อควบคุมอาการได้แล้ว อาจลดขนาดยาลงเหลือข้างละ 1 ครั้ง วันละครั้ง
- เด็กอายุ 2-11 ปี แนะนำให้พ่นอยู่ที่ข้างละ 1 ครั้ง วันละครั้ง ถ้าหากใช้ไป 1 สัปดาห์อาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้เพิ่มขนาดยาเป็น ข้างละ 2 ครั้ง วันละครั้ง เมื่อควบคุมอาการได้แล้วอาจลดขนาดยาลงกลับเป็นข้างละ 1 ครั้ง
กลับสู่สารบัญ
วิธีการใช้ยานี้
- เขย่าเครื่องพ่นแรงๆ
- เปิดฝาครอบขวดยาออก
- ก่อนใช้ยาให้สั่งน้ำมูกให้จมูกโล่ง และก้มศีรษะไปข้างหน้าเล็กน้อย
- ถือเครื่องพ่นยาให้ตั้งตรงและค่อยๆสอดหัวพ่นยาเข้าไปในรูจมูกข้างหนึ่ง
- หันส่วนปลายของหัวพ่นยาออกทางด้านขางของจมูก ให้ห่างจากจุดกึ่งกลางของสันจมูก จะช่วยให้สามารถยาพ่นเข้าไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องในจมูก
- ในขณะที่สุดหายใจเข้าทางจมูก ให้กดแป้นกดยาหนึงครั้งจดสุดด้วยแรงพอควร
- ควรระวังไม่ให้ละออกยาเข้าตา หากเข้าตาให้ล้างออกด้วยน้ำ
- นำปลายหัวพ่นยาออกจากจมูก พร้อมกับหายใจออกทางปาก
- ปิดฝาครอบขวดยาให้เข้าที่
Avamys กับ Nasonex แตกต่างกันอย่างไร
ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้
- ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยาสเตียรอยด์ หรือ ยาส่วนประกอบอื่นๆที่อยุ่ในยานี้
- การใช้ยานี้ในเด็กติตต่อกันในขนาด 110 ไมโครกรัม นานเกิด 1 ปี พบว่าอาจมีผลกดการเจริญเติบโตในเด็กได้
- ไม่แนะนำให้ทานยานี้ร่วมกับยาที่ยับยั้ง CYP3A4 เช่น Ritonavir และ Ketoconazole เนื่องจากจะทำให้ยาถูกขจัดออกจากร่างกายโดยตับได้ช้าลง ส่งผลให้พบยาในกระแสเลือดได้มากขึ้น
- หญิงตั้งครรภ์ ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับคนท้อง แต่ก็ยังไม่มีรายงานอันตรายใดๆกับเด็กในครรภ์ ดังนั้นหากใช้ยานี้แนะนำให้ใช้ในกรณีจำเป็นหรือเมื่อมารดามีอาการรุนแรง
- สตรีให้นมบุตร ยังไม่มีรายงานว่ายาส่งผ่านไปยังน้ำนมมารดา
ผลข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์
ถึงแม้ว่ายานี้จะไม่ได้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมากนัก แต่ก็ใช้ว่าจะไม่พบผลข้างเคียงเลย โดยผลข้างเคียง โดยเราก็จะแบ่งผลข้างเคียงที่พบตามความถี่ของการเกิด เช่น พบบ่อย พบไม่บ่อย พบน้อยมาก
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของ Avamys
- เลือดกำเดาไหล
- เกิดแผลในจมูก
- ปวดศีรษะ
ผลข้างเคียงที่พบได้บ้าง
- อาการปวดในจมูก
- อาการแสบร้อนในจมูก
- จมูกแห้ง
- ระคายเคืองในจมูก
ผลข้างเคียงที่พบได้น้อย
- การเจริญเติบโตช้าในเด็กและวัยรุ่น (มีการศึกษาว่าต้องใช้ยาขนาด 110 ไมโครกรัมต่อเนื่องกัน 1 ปี)
- ตาบวม ลดพิษ ผื่นแพ้
- ผนังกลางจมูกทะลุ
กลับสู่สารบัญ
ราคากลางในท้องตลาด
โดยเฉลี่ยแล้วในท้องตลาด 600 – 750 บาท หากราคาต่ำกว่านี้แบบผิดสังเกต อาจจะเป็นยาที่เกิดจากการหิ้วเขามาจากต่างประเทศแบบผิดกฎหมายได้ และยาเหล่านั้นมักจะไม่มีฉลากภาษาไทย
6 เรื่องสำคัญที่ควรรู้ก่อนใช้ยาอวามิสสเปรย์
- ยาบรรจุอยู่ในขวดสีชา หากต้องการดูว่ามียาเหลืออยู่เท่าใด ให้ถือขวดยาตั้งตรงแล้วส่องกับแสงสว่าง ท่านจะสามารถมองเห็นระดับยาผ่านทางช่องด้านข่างได้
- สำหรับการใช้ครั้งแรก ท่านต้องเขย่าเครื่องพ่นอย่างแรงขณะปิดฝา ประมาณ 10 วินาที เพื่อทำให้ตัวยาที่ข้นเหนียวกลายเป็นของเหลว น้ำยาจะถูกพ่นออกมาได้เมื่อเป็นของเหลวเท่านั้น
- ต้องกดแป้นกดด้านข้างจนสุดให้แรงพอควร เพื่อให้ละอองยาผ่านหัวพ่นยาออกมาได้
- หากท่านไม่ถนัดที่จะใช้นิ้วหัวแม่มือกดที่แป้นกด ท่านสามารถใช้ 2 มือ กดพร้อมกันแทนได้
- เมื่อไม่ได้ใช้ยาให้ปิดฝาครอบขวดยาเสมอเพื่อป้องกันฝุ่น เป็นการควบคุมความดันและป้องกันหัวพ่นยาอุดตัน เมื่อปิดฝาครอบขวดยาเข้าที่แล้ว แป้นกดด้านข้างจะไม่สามารถกดลงได้
- ห้ามใช้เข็มหรือสิ่งของปลายแหลมเขี่ยหัวพ่นยา เพราะจะทำให้เครื่องพ่นเสียหายได้
บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่าย
- ผู้ผลิต บริษัท Glaxo wellcome operations barnard castle, UK
- ผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย บริษัท GlaxoSmithKline (Thailand) Ltd Bangkok
สรุปข้อมูลยา
จะเห็นได้ว่ายา Avamys นั้นถึงแม้ว่าจะเป็นยาพ่นที่มีราคาค่อนข้างสูง แต่ว่าในด้านประสิทธิภาพของยาและความปลอดภัยของยา รวมถึงผลข้างเคียงนั้นมีค่อนข้างน้อย แต่เพื่อให้ยาเกิดประสิทธิผลในการใช้มากที่สุด ก็จะต้องพ่นยาให้ถึงตามขนาดยาที่กำหนด และควรใช้ยานี้อย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ผลลัพธ์จากการใช้ดีที่สุด ถ้าใครคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์กับคนรอบๆข้าง พี่เภก็รบกวนฝากแชร์ไปยัง facebook line หรือ twitter ที่ปุ่มด่านล้างได้เลยน้า พี่เภจะได้มีกำลังใจนำข้อมูลยาใหม่ๆมาฝากกัน ไปก่อนละ บะบาย
กลับสู่สารบัญ
แหล่งที่มาของข้อมูล
- ข้อมูลยา fluticasone furoate : https://www.webmd.com/drugs/2/drug-148273/fluticasone-furoate-nasal/details
- ประสิทธิภาพของอวามิส : https://gskpro.com/en-ie/products/avamys/efficacy/
- วิธีการใช้ยา : https://gskpro.com/en-ie/products/avamys/device/
- เอกสารกำกับยา
- Facebook iconแชร์
- Twitter iconทวีต
- LINE iconส่งไลน์