โรคฝีดาษลิงยังไม่มียารักษา วัคซีนไข้ทรพิษ ป้องกันได้ 85%

โรคฝีดาษลิงยังไม่มียารักษา วัคซีนไข้ทรพิษ ป้องกันได้ 85%

โรคฝีดาษลิงไม่ใช่โรคใหม่ เคยระบาดมากกว่า 20 ปีแล้ว โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae เช่น ไวรัสที่ทำให้เกิดฝีดาษในคน หรือไข้ทรพิษ (variola virus) ฝีดาษวัว (cowpox virus) เป็นต้น

เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิดโดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแท้เช่นกระรอก หนูป่า รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้ แม้ว่าโรคฝีดาษลิงจะอยู่ในตระกูลเดียวกับโรคฝีดาษแต่มีความรุนแรงมากกว่า

ออสเตรเลีย ยืนยัน พบผู้ป่วย “ฝีดาษลิง” กลับจากอังกฤษ

วัคซีนไข้ทรพิษ ป้องกัน “ฝีดาษลิง” หมอไขข้อสงสัยมีฤทธิ์นานเท่าใด?

“โรคฝีดาษลิง” คืออะไร เผยอาการ วิธีการติดต่อ และการป้องกัน

ส่วนใหญ่จะพบผู้ติดเชื้อในพื้นที่ห่างไกลของประเทศ ทางตอนกลางและตะวันตกของทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นป่าดิบชื้น ผู้ป่วยติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง ตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ ถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน กินเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย

อาการเริ่มแรกของโรคฝีดาษลิง

การแพร่เชื้อจากคนสู่คนเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย ผ่านทางสารคัดหลั่ง จากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่มเมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน

อาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วันจะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขาและอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนองในระยะสุดท้าย ตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา อาการป่วยจะประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก ซึ่งในประเทศแอฟริกาพบอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 10

การป้องกันโรคฝีดาษลิง

1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า

2. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก

3. มันล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อหรือเดินทางเข้าไปในป่า

4. ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการคัดกรองโรค

5. กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรคต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ทันทีและทำการแยกกักเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยมีการแพร่กระจายเชื้อ

วิธีรักษาโรคฝีดาษลิง

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงที่เฉพาะเจาะจง แต่สามารถควบคุมการระบาดได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษซึ่งสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85% อย่างไรก็ตามเด็กที่เกิดหลังปี 2523 จะไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อนจึงเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคฝีดาษลิงมากกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับเรื่อง “การปลูกฝี” สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ที่มาข้อมูลสุขภาพ : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS

Bình luận đã bị đóng.