อาณาจักรโพรทิสตา 1
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้อาจมีเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์เป็นเซลล์ชนิดยูคาริโอต (Eukaryote) คือมีเยื่อหุ้มนิวเคลียสแต่เซลล์เหล่านั้นยังไม่รวมตัวกันเป็นเนื้อเยื่อและมีลักษณะของพืชและสัตว์รวมกัน เช่น มีการเคลื่อนที่ได้อันเป็นลักษณะของสัตว์มีการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยใช้คลอโรฟิลล์เช่นเดียวกับพืช
ภาพที่ 1 กลุ่มสิ่งมีชีวิตพวก protisthttps://commons.wikimedia.org/wiki/File:Diatoms_through_the_microscope.jpg, Gordon T. Taylor
อาณาจักรโพรทิสตา ประกอบด้วย สิ่งมีชีวิตพวกโพรโทซัว สาหร่ายราย และราเมือก ตามวิธีจัดจำแนกที่ใช้อยู่ทั่วไป
ภาพที่ 2 ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโพรทิสตาที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Protist_collage_2.jpg
โพรโทซัว (Protozoa)
เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กมากมองดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูจึงจะเห็นได้ โพรโทซัวอาจอยู่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ เช่น ยูกลีนา อะมีบา พารามีเซียม หรืออยู่รวมกันเป็นโคโลนี เช่น วอลวอกซ์ (Volvox) แหล่งที่อยู่อาศัยมีทั้งอยู่อย่างอิสระในดินในน้ำจืดในน้ำเค็มหรืออยู่ในสภาพปรสิตกับสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น เชื้อพลาสโมเดียม (Plasmodium sp.) ทำให้เกิดโรคมาลาเรีย เชื้อ Entamoeba histolytica ซึ่งทำให้เป็นโรคบิดมีตัว เกิดอาการท้องร่วง ลำไส้อักเสบ บางชนิดอาจจะอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของสัตว์ชั้นสูงหลายชนิดรวมทั้งคนแต่ไม่ทำอันตราย เพราะพวกนี้ย่อยกากอาหารทำให้มีแก๊สเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ พวก Entamoeba coli โพรโทซัว Entamoeba gingivalis อาศัยอยู่ที่โคนฟันคอยกินแบคทีเรียในปากไม่ทำให้เกิดโทษ
โพรโทซัวมีรูปร่างแตกต่างกันมากมายมีการเคลื่อนที่โดยใช้อวัยวะต่างกันจำแนกโพรโทซัวออกตามอวัยวะในการเคลื่อนที่คือ
1. กลุ่มแฟลเจลลาตา (Flagellata) เป็นโพรโทซัวที่เคลื่อนที่ด้วยแฟลเจลลัม (flagellum) เช่น ยูกลีนาซึ่งอาศัยหากินอย่างอิสระในน้ำ ทริพาโนโซมา (Trypanosoma) เป็นโพรโทซัวที่มีแฟลเจลลาอาศัยอยู่ในเลือด ทำให้คนเป็นโรคเหงาหลับ (African sleeping sickness) ซึ่งมีแมลง tsetse fly เป็นพาหะ วอลวอกซ์ที่อยู่ร่วมกันเป็นโคโลนี้ก็เป็นโพรโทซัวพวกมีแฟลเจลลา โพรโทซัวมีหนวดพวก Trichonympha อาศัยอยู่ในลำไส้ปลวกโดยอยู่ร่วมกันแบบภาวะพึ่งพา
ภาพที่ 3 Trypanosoma sp.ที่มา: https://www.flickr.com/photos/77092855@N02/6912974847
ภาพที่ 4 Trichonymphaที่มา: http://www.microscopy-uk.org.uk/mag/imgmar03/Trichonympha755.jpg
2. กลุ่มซิลิอาตา (ciliata) เป็นโพรโทซัวที่เคลื่อนที่ด้วยซิเลีย (cilia) ซึ่งเป็นขนสั้น ๆ มีจำนวนมากอาจเรียกโพรโทซัวพวกนี้ว่า ซิลิเอต (ciliates) ตัวอย่างเช่น พารามีเซียม (Paramecium) รูปร่างคล้ายรองเท้าแตะ วอร์ดีเซลลา (Vorticella) รูปร่างคล้ายกระดิ่ง สเตนเตอร์ (Stentor) เป็นต้น ซิลิเอตโดยทั่วไปมีนิวเคลียส 2 ชนิด คือ นิวเคลียสขนาดใหญ่ (macronucleus) ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการต่าง ๆ นอกจากการสืบพันธุ์ และนิวเคลียสขนาดเล็ก (micronucleus) ทำหน้าที่ควบคุมการสืบพันธุ์
ภาพที่ 5 กลุ่มสิ่งมีชีวิตพวกซิลิอาตาที่มา: (a) https://www.flickr.com/photos/microagua/5207541778(b) https://www.flickr.com/photos/microagua/40090807972(c) https://www.flickr.com/photos/63139332@N00/6902760828
3. กลุ่มซาร์โกดินาหรือไรโซโพดา (Sarcodina or Rhizopoda) เป็นโพรโทซัวที่เคลื่อนที่ด้วยขาเทียมหรือซูโดโพเดียม (pseudopodium) ที่เกิดจากการไหลของไซโทพลาซึมเข้าไปข้างใดข้างหนึ่งของเซลล์เยื่อหุ้มเซลล์ทางด้านนั้นจะปูดออกทำให้ตัวมันเคลื่อนที่ตามทิศทางที่ขาเทียมได้ปูดออกไปพบทั้งในน้ำจืดน้ำเค็ม ได้แก่ อะมีบา พวกอยู่ในทะเลมักมีเปลือก (test) หุ้ม เช่น ฟอรามินิเฟอรา (Foruminifera) เรดิโอลาเรีย (Radiolaria) ซึ่งเปลือกจะมีลวดลายสวยงามเนื่องจากมีสารต่าง ๆ มาสะสมอยู่
4. กลุ่มสปอโรซัว (Sporozoa) เป็นโพรโทซัวที่ไม่มีโครงสร้างในการเคลื่อนที่ส่วนใหญ่เป็น โพรโทซัวที่เป็นปรสิต เช่น พลาสโมเดียม (Plasmodium) ทำให้เกิดโรคมาลาเรีย มียุงก้นปล่องเป็นพาหะ เมื่อพลาสโมเดียมเข้าสู่กระแสเลือดจะเข้าสู่เม็ดเลือดแดงแล้วแบ่งตัวมากมายจนเม็ดเลือดแดงแตกออกสารพิษที่เกิดจากพลาสโมเดียมจะทำให้คนไข้มีอาการจับไข้หนาวสั่นไข้จะลดลงเมื่อเชื้อพลาสโมเดียมเข้าเม็ดเลือดแดงชุดใหม่ เพื่อเข้าไปแบ่งเซลล์ภายในเม็ดเลือดแดงอีก เมื่อใดที่เม็ดเลือดแดงแตกคนไข้จะมีอาการหนาวสั่นขึ้นมาอีก เชื้อมาลาเรียที่สำคัญที่พบในประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิด คือ Plasmodium falciparum ทำให้เกิดโรคมาลาเรียขึ้นสมองมีอาการรุนแรงกว่าและมีการจับไข้ทุกวันส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ Plasmodium vivax เกิดโรคมาลาเรียลงตับมีการจับใช้ทุก 2 วัน เนื่องจากการรักษายังไม่ได้ผลอีกทั้งเชื้อมาลาเรียในปัจจุบันมีความดื้อยาสูงจึงยังพบผู้ป่วยเป็นมาลาเรียได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ภาพที่ 6 เชื้อ Plasmodium falciparum ที่อยู่ในระบบหมุนเวียนเลือดที่มา: https://www.flickr.com/photos/121483302@N02/14816576282
ภาพที่ 7 วัฏจักรของการเกิดไข้มาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium spp. ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Plasmodium_lifecycle_PHIL_3405_lores.jpg
สาหร่าย
แบ่งเป็นกลุ่มสำคัญ ๆ ดังนี้
กลุ่มสาหร่ายสีเขียว คือ สาหร่ายที่มีคลอโรพลาสต์ในเซลล์ เป็นสาหร่ายกลุ่มใหญ่ที่สุด พบตามบ่อ บึง คูน้ำ และในน้ำทะเล มีทั้งเป็นเซลล์เดียว เช่น Chlamydomonas, Chlorococcum, Chlorella, Closterium, Cosmarium ส่วนพวกที่อยู่เป็นกลุ่ม เช่น Volvox, Scenedesmus, Pediastrum ชนิดที่อยู่กันเป็นสาย ได้แก่ Ulothrix, Spirogyra, Cladophora สาหร่ายสีเขียวมีลักษณะสำคัญคือ
1) มีคลอโรฟิลล์เอและบี และรงควัตถุอื่น ๆ เช่น แคโรทีน แซนโทฟิลล์ (xanthophyll)
2) มีแฟลเจลลา 1 หรือ 2 หรือ 8 เส้นขนาดเท่ากันและอยู่ด้านหน้าของเซลล์
3) ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่
4) อาหารสะสมในเซลล์ คือ แป้ง
ภาพที่ 8 กลุ่มสาหร่ายสีเขียวที่มา: a. https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Chlamydomonas_globosa_-_400x_(13263097835).jpgb. https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/ee/Mikrofoto.de-volvox-8.jpgc.https://www.flickr.com/photos/occbio/5690518695d.https://www.flickr.com/photos/microagua/3958145674r.http://protist.i.hosei.ac.jp/PDB/Images/Chlorophyta/Spirogyra/group_C/porticalis/porticalis3.jpg
สาหร่ายสีเขียวพวกคลอเรลลา (Chlorella) ซีนเดสมัส (Scenedesmus) มีโปรตีนสูงจึงนำมาสกัดเอาโปรตีนเพื่อนำไปทำอาหารสัตว์ส่วนสไปโร่ใจราชาวอีสานเรียกว่าเทาน้ำ นำเอาไปทำอาหารรับประทาน
กลุ่มสาหร่ายสีน้ำตาลแกมเหลือง ได้แก่ พวกไดอะตอม (diatom) มีลักษณะสำคัญ คือ
1) มีคลอโรฟิลล์เอและซี รวมทั้งรงควัตถุบีตาแคโรทีน (b-carotene) แซนโทฟิลล์ (xanthophyll) และฟิวโคแซนทีน (fucoxanthrin)
2) ผนังเซลล์ประกอบด้วยซิลิก าเซลลูโลส บางชนิดมีไคทิน
3) อาหารสะสมเป็นน้ำตาลคริสโซลามินารินและน้ำมัน
4) มักเป็นเซลล์เดียวที่มีลักษณะสมมาตรและผนังเซลล์ยังมีลวดลาย พบทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม
5) ซากของไดอะตอมที่ตายทับถมมาก ๆ อยู่ใต้ทะเลเรียก diatomaceous earth มีทั้งแร่ธาตุและน้ำมัน นำมาใช้ประโยชน์เป็นฉนวนและเครื่องกรอง ใช้ในการทำยาขัดต่าง ๆ เช่น ยาขัดรถ ยาสีฟันใช้ในการทำเครื่องสำอาง เป็นต้น
ภาพที่ 9 ไดอะตอมชนิดต่าง ๆที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/29/Diatom2.jpg
ภาพที่ 10 diatomaceous earthที่มา: https://epod.typepad.com/.a/6a0105371bb32c970b0120a4f5b1b3970b-pi
กลุ่มสาหร่ายสีน้ำตาล ซึ่งส่วนใหญ่พบในน้ำเค็ม สาหร่ายสีน้ำตาลมีลักษณะเด่น ดังนี้
1) มีคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์ซี และรงควัตถุสีน้ำตาลฟิวโคแซนทิน (fucoxanthrin) มาก
2) ส่วนใหญ่พบในน้ำเค็มและน้ำกร่อย
3) มักมีขนาดใหญ่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมากรวมกันเป็นส่วนที่คล้ายราก (holdfast) คล้ายลำต้น (stipe) และคล้ายใบ (blade)
4) ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลสและกรดแอลจินิก (alginic acid) หรือแอลจีน (algin)
5) อาหารสะสมเป็นพวกน้ำตาลแมนนิทอล (manitol) และลามินาริน (laminarin)
6) กรดแอลจินิกนำมาสกัดเป็นสารประกอบแอลจิน ใช้ทำวุ้นและสารที่ทำให้เกิดการคงตัว (thickening and stabilizing agent) ในยาสีฟัน ไอศกรีม โลชั่นต่าง ๆ ทำยา ทำสี ทำปุ๋ย เพราะมีไอโอดีนและโพแทสเซียมมาก
ตัวอย่างได้แก่ Kelp (Macrocystis) ซึ่งมีขนาดยาวที่สุด Laminaria ใช้สกัดแอลจิน Padina, Fucus ใช้ทำปุ๋ยโพแทสเซียม Sargassum หรือสาหร่ายทุ่นซึ่งมีมากในอ่าวไทยใช้เป็นอาหารและมีไอโอดีนสูง
ภาพที่ 11 กลุ่มสาหร่ายสีน้ำตาลที่มา: a. https://www.flickr.com/photos/underwaterpat/15189266952b. https://www.flickr.com/photos/dingilingi/3239587444c. https://www.flickr.com/photos/johnwturnbull/30340560844d. https://sco.m.wikipedia.org/wiki/File:Fucus_serratus2.jpge. https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Sargassum_on_the_beach,_Cuba.JPG
กลุ่มสาหร่ายสีแดง ซึ่งมีอยู่ในน้ำเค็มเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะเด่นดังนี้
1) มีคลอโรฟิลล์เอและดี แคโรทีน แซนโทฟิลล์ ไฟโครีทริน (phycoerythrin)
2) ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล
3) ผนังเซลล์ ประกอบด้วย เซลลูโลส เพกทิน
4) มีรูปร่าง 2 แบบ คือ เป็นแผ่นแบน เช่น Porphyra หรือจีฉ่าย และพวกมีสายแตกแขนงเช่น Polysiphonia
5) ประโยชน์ใช้เป็นอาหารโดยตรง เช่น Porphyra (จีฉ่าย) ใช้สกัดทำวันซึ่งได้จากสาหร่ายผมนาง (Gracilaria) ใช้ในอุตสาหกรรมการทําเครื่องสำอางเป็นส่วนผสมยาขัดรองเท้าครีมโกนหนวด
ภาพที่ 12 จีฉ่าย (Porphyra) นำมาตาแห้ง แล้วนำไปทำแกงจืดสาหร่ายที่มา: https://www.flickr.com/photos/pennywhite/300438926
ภาพที่ 13 สาหร่ายผมนาง (Gracilaria)ที่มา: https://www.flickr.com/photos/jsjgeology/24022495910
แหล่งที่มา
ปรีชา สุวรรณพินิจ และนงลักษณ์ สุวรรณพินิจ. (2556). High School Biology ชีววิทยา ม.4-6 เล่ม 5 (รายวิชาเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.
พจน์ แสงมณี. (2552). Compact ชีววิทยา ม.6 เล่ม 5. กรุงเทพฯ: แม็ค.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หนังสือเรียน รายวิชา เพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.
Return to contents