วิตามินสำหรับคนเป็นสิว มีอะไรบ้าง?

วิตามินสำหรับคนเป็นสิว มีอะไรบ้าง?

สิวสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัย แม้ว่าการเป็นสิวจะพบบ่อยในหมู่วัยรุ่นทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่อันที่จริงแล้วนั้นสิวส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกทุกวัยค่ะและสิวไม่ได้เกิดขึ้นตรงบริเวณบนใบหน้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีหลายต่อหลายคนมีปัญหาสิวขึ้นที่หลังร่วมด้วย ซึ่งปัจจัยในการเป็นสิวส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ผิวหนัง, พันธุกรรม, ความสะอาด, ความเครียด, อาหารที่ทานและฮอร์โมนที่ไม่สมดุล ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตน้ำมันมากกว่าปกติ ทำให้เกิดรูขุมขนอุดตัน มีเชื้อแบคทีเรียเติบโตและเป็นเกิดสิวในที่สุดค่ะ

สิวเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้นกับเรา การกินวิตามินลดสิวสามารถช่วยให้สิวยุบลงได้

สิวมีหลากหลายรูปแบบและหลากหลายชนิด แต่แบ่งออกเป็น สิวไม่อักเสบ (สิวหัวดำ, สิวหัวขาว) และ สิวอักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่คนมักจะรักษาด้วยการไปหาหมอเฉพาะทางด้านผิวหนัง ใช้ยาและกินยาตามใบสั่งแพทย์ เพราะเป็นวิธีที่สามารถรักษาสิวได้ตรงจุดอย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่ค่อนข้างแพงในการเข้าคอร์สรักษาแต่ละครั้ง แต่อันที่จริงแล้วคุณก็สามารถรักษาสิวด้วยตัวเองได้เช่นกัน เพียงแค่คุณจะต้องรู้จักเลือกผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่ดีและเหมาะสมกับตัวเองที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้แผ่นแปะสิวช่วยให้สิวยุบ, เจลแต้มสิว รวมถึงการเลือกผลิตภัณฑ์รักษาสิว (Acne Care) ที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิกที่ช่วยรักษาสิว แต่สิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการรักษาค่อนข้างนาน เนื่องจากคุณไม่ได้กินยารักษาสิวร่วมด้วย

แต่อย่างไรก็ตามนอกจากผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่ใช้ทาภายนอกแล้วอาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นสิว ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดถึงวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญที่สามารถช่วยป้องกันและรักษาสิวได้ เราไปดูเลยค่ะว่าอาหารเสริม/วิตามินตัวไหนจะเหมาะกับการรักษาสิวกันบ้าง

วิตามินที่ช่วยเรื่องของสิว

1. วิตามินเอ (Vitamin A)

วิตามินเอ หรือ เรตินอล (Retinol) และ กรดเรทิโนอิก (Retinoic acid) เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการมองเห็น, การเจริญเติบโต, การแบ่งเซลล์, การสืบพันธุ์และภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระที่อาจมีบทบาทช่วยในโรคหัวใจ, มะเร็งและโรคอื่น ๆ ถือว่า Vitamin A ช่วยส่งเสริมผิวพรรณและสุขภาพโดยรวมให้ดีขึ้นโดยทำการต่อสู้กับอนุมูลอิสระ (1)

วิตามินเอ สามารถช่วยรักษาสิวได้โดยการเปลี่ยนวิตามินเป็นเรตินอล (Retinol) หรือเรตินอยด์ (Retinoid) ที่สามารถใช้กับผิวหนังได้ ดังนั้นตามที่ American Academy of Dermatology (AAD) ระบุว่า เรตินอลหรือเรตินอยด์สามารถช่วยรักษาและป้องกันแผลจากสิวอักเสบได้ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาสิวที่ได้ผลดีที่สุดและรักษาได้อย่างรวดเร็ว (2)

อีกทั้งวิตามินเอ มีส่วนที่ช่วยต่อต้านเป็นแบคทีเรียชนิดสำคัญที่ทำให้เกิดสิว, ส่งเสริมการเติบโตของเซลล์ผิวใหม่ซึ่งอาจช่วยลดริ้วรอยของผิว,​ ลดการอักเสบซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของสิวผด หากคุณต้องการรักษาสิวด้วยการทานวิตามินเอ คุณอาจจะใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินเอแทนได้

2. สังกะสี (Zinc)

สังกะสีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญของเซลล์หลายประการและมีบทบาทในการทำงานของภูมิคุ้มกัน, การสังเคราะห์โปรตีน, การรักษาบาดแผล, การสังเคราะห์ DNA และการแบ่งเซลล์ สังกะสียังสนับสนุนการเจริญเติบโตและพัฒนาการตามปกติในระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ (3) สังกะสี (Zinc) เป็นแร่ธาตุที่สามารถช่วยเรื่องสิวได้ เพราะมันสามารถลดการผลิตน้ำมันในผิวหนังและสามารถป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและการอักเสบได้ (4)

ชนิดของซิงค์ Zinc

ปริมาณสังกะสี (Zinc) ที่แนะนำต่อวัน

  • ผู้ใหญ่โดยทั่วไปประมาณ 8-11 มิลลิกรัม (mg) (3)
  • สำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องการรักษาสิวประมาณ 30 มิลลิกรัม (mg) (5) ห้ามทานสังกะสีในปริมาณที่สูงเกินไปเพราะอาจเป็นอันตรายได้

สังกะสี (Zinc) นอกจากจะช่วยดูแลในเรื่องของการรักษาสิวแล้ว ยังเป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่ช่วยดูแลในเรื่องบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง คุณสามารถอ่านบทความ อาหารเสริมบำรุงผม ได้จากที่เราเคยรีวิวไว้แล้ว

3. วิตามินดี (Vitamin D)

กินยา ทานยา วิตตามิน วิตามิน อาหารเสริม ผู้หญิง กินยา ยาบำรุง อาหารเสริม

วิตามินดีช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ได้ดีและยังเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อสุขภาพกระดูก หากคุณรับวิตามินดีไม่เพียงพอ กระดูกของคุณจะบางเปราะหรือผิดรูปร่างได้ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเซลล์ประสาท, ลดการอักเสบ, ภูมิคุ้มกันและการเผาผลาญกลูโคส (6) ร่างกายสามารถผลิตวิตามินดีได้ตามธรรมชาติ เมื่อแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์สัมผัสกับผิวหนัง อย่างไรก็ตามอาหารบางอย่างยังมีวิตามินดี เช่น ปลาแซลมอน, ปลาทูน่า, ปลาแมคเคอเรล, ชีส, ไข่, เห็ด และซีเรียลอาหารเช้าค่ะ

ในการศึกษาพบว่าผู้ที่เป็นสิวมีระดับวิตามินดีในระดับต่ำกว่ากำหนด การได้รับวิตามินดีน้อยอาจจะส่งผลกระทบของเซลล์ผิวและทำให้เกิดแบคทีเรีย โดยแบคทีเรียเหล่านี้จะมีบทบาทในการเกิดสิว (7) ยังมีการศึกษาอีกตัวที่ได้เชื่อมโยงระดับวิตามินดีที่ต่ำกับคนที่มีปัญหาสิว โดยได้ข้อสรุปว่าผู้ที่ขาดวิตามินดีอาจทำให้อาการสิวแย่ลงได้เพราะวิตามินดีนั้นมีคุณสมบัติในการต้านความอักเสบที่มีประสิทธิภาพดีมาก (8)

ปริมาณวิตามินดีที่แนะนำต่อวัน (6)

  • 15 ไมโครกรัม (mcg) สำหรับผู้ชาย/ผู้หญิงที่เป็นผู้ใหญ่

แน่นอนว่าวิตามินที่เรากล่าวไปข้างต้นนั้นไม่ใช่ยาวิเศษที่กินปุ๊บทำให้หายสิวปั๊ป ดังนั้นคุณควรรับประทานวิตามินติดต่อกัน 30 วันเป็นต้นไป เพราะจะทำให้เห็นผลมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ

วิตามินที่ช่วยเรื่องสิว ยี่ห้อไหนดี?

เราใช้เกณฑ์ในการเลือกสินค้าโดยพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของแบรนด์ รวมไปถึงยอดขายและรีวิวของผู้ใช้บริการในเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าออนไลน์ ก่อนซื้อแนะนำในอ่านฉลากส่วนประกอบต่าง ๆ รวมไปถึงปรีกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกร

* เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน *

อาหารเสริมอื่น ๆ ที่อาจจะช่วยรักษาสิวได้

นอกเหนือจากวิตามิน A, วิตามิน D และ สังกะสี (Zinc) ที่สามารถรักษาสิวได้ ยังมีอาหารเสริมอื่น ๆ ที่อาจช่วยลดอาการสิวได้เช่นกัน

1. สารสกัดชาเขียว อาจลดรอยแผลจากสิวได้

สารสกัดจากชาเขียวมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพและมีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่ดีอีกด้วย (9) มีการวิจัยระบุว่าชาเขียวอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นสิว การศึกษาในผู้หญิง 80 คนที่เป็นสิวระดับปานกลางถึงรุนแรงแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ทานอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากชาเขียว 1,500 มก. เป็นเวลา 4 สัปดาห์พบว่าแผลจากสิวลดลงอย่างเห็นได้ชัด (10)

2. น้ำมันปลา หรือ โอเมก้า อาจลดสิวอักเสบได้

มีหลักฐานงานวิจัยบางอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าการทานอาหารเสริมน้ำมันปลาที่อุดมด้วยโอเมก้า 3 อาจลดความรุนแรงของสิวอักเสบในบางคนได้ แต่อย่างไรก็ตามผลลัพธ์นั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลด้วย (11)

3. ไวเท๊กซ์ แอกนัส แคสตัส ช่วยลดสิวก่อนมีประจำเดือน

ไวเท๊กซ์ แอกนัส แคสตัส (Vitex agnus-castus) หรือ เชสต์เบอร์รี่ (Chasteberry) สำหรับ Vitex มีบทบาทของฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ทำให้มีแนวโน้มในการลดของสิวได้ (12) แต่อย่างไรก็ตามตอนนี้ยังมีวิจัยที่ใช้ในการอ้างอิงน้อยมาก ดังนั้นเราอาจจะต้องรอวิจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อที่จะมาสนับสนุนว่า Vitex สามารถช่วยลดสิวได้จริงแท้แน่นอนหรือไม่

4. แคนนาบิไดออล หรือ CBD (Cannabidiol)

แคนนาบิไดออล มีคุณสมบัติต้านการอักเสบและต้านเชื้อแบคทีเรียที่มีศักยภาพ ทั้งยังพบว่าสามารถลดการอักเสบและควบคุมการผลิตซีบัม (Sebum) ในเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ได้ (13)

นอกจากอาหารเสริมที่เรากล่าวมาแล้ว สำหรับใครที่ต้องการเลือกซื้ออาหารเสริมวิตามินต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผิวพรรณหรือความสวยความงามแต่ยังไม่มีความข้อมูลในการเลือกซื้อ เราขอแนะนำบทความ “วิธีเลือกซื้อ วิตามินสำหรับผู้หญิง” ให้คุณศึกษากันอย่างจุใจเลยค่ะ

วิธีป้องกันการเกิดสิว

1. เลือกใช้เครื่องสำอางให้เหมาะสม

สำหรับสาว ๆ ที่จำเป็นต้องแต่งหน้าเพื่ออำพรางสิวและเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง เราแนะนำให้คุณเลือกใช้เครื่องสำอางสำหรับผิวเป็นสิวหรือผิวแพ้ง่าย อย่างเช่น รองพื้นสำหรับผิวเป็นสิว ที่จะต้องไม่ส่วนผสมของซิลิโคน (silicone) ที่ทำให้รูขุมขนอุดตัน โดยให้คุณสังเกตที่เครื่องสำอางว่าหากมีสารลงท้ายด้วย -cone หรือ -siloxane นั่นคือส่วนผสมที่ทำให้อุดตันค่ะ

นอกจากนี้คุณควรหลีกเลี่ยงส่วนผสมของ ไมกา, แอลกอฮอล์, น้ำหอม และควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำมันหรือที่เขียนว่า Oil-Free รวมถึงเครื่องสำอางที่มีกรดซาลิไซลิก (salicylic acid) ก็จะช่วยรักษาสิวของคุณได้ไปในตัว

2. การล้างทำความสะอาดผิวหน้า

คอนซีลเลอร์ ล้างหน้า แต่งหน้า ผู้หญิง อาบน้ำ ผิวหน้า
การล้างหน้าเบา ๆ สามารถขจัดน้ำมันส่วนเกินและเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกแต่ห้ามทำความสะอาดบ่อยเกินไป และไม่ควรใช้สครับในการทำความสะอาดหน้าช่วงที่เป็นสิว

การล้างหน้าเบา ๆ สามารถขจัดน้ำมันส่วนเกินและเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกแต่ห้ามทำความสะอาดบ่อยเกินไป และไม่ควรใช้สครับในการทำความสะอาดหน้าช่วงที่เป็นสิว เพราะอาจจะทำให้ผิวระคายเคืองได้ซึ่งอาการนี้จะทำให้สิวเกิดขึ้นมากกว่าเดิมค่ะ แนะนำให้คุณใช้โฟมล้างหน้าหรือเจลล้างหน้าสูตรอ่อนโยนต่อผิวสำหรับผิวบอบบาง หรือหากคุณมีผิวที่แตกต่างกันไป คุณอาจจะเลือกเป็น ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าสำหรับผิวผสม, ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าสำหรับผิวแห้ง และผลิตภัณฑ์ล้างหน้าสำหรับผิวมัน เป็นต้น แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าคู่กับแปรงล้างหน้าที่อ่อนนุ่ม เพราะมันจะช่วยให้การล้างหน้าสะอาดล้ำลึกมากยิ่งขึ้น

หากคุณมีการแต่งหน้าในแต่ละวัน หรือแม้แต่ทาเพียงแค่ครีมกันแดดสำหรับคนเป็นสิว คุณควรจะใช้ Makeup Remover, Micellar Waters, คลีนซิ่งมิลค์, คลีนซิ่งบาล์ม, คลีนซิ่งออยล์ หรือแผ่นเช็ดเครื่องสําอางโดยเฉพาะ ในการทำความสะอาดผิวหน้า อย่าลืมลบเครื่องสำอางและครีมกันแดดออกให้หมดจดก่อน แล้วใช้โฟมล้างหน้าแบบคลีนเซอร์ในการล้างทำความสะอาดผิวหน้าอีกที คุณไม่ควรล้างหน้าบ่อยเกินไปต่อวัน แนะนำให้ล้างเพียงวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนเย็น ยกเว้นว่าวันนั้นคุณอาจจะมีเหงื่อออกมาเป็นพิเศษ ก็ให้ล้างทำความสะอาดหลังจากที่เหงื่อออกทันที

3. อาบน้ำหลังจากออกกำลังกาย

สบู่เหลวหรือครีมอาบน้ำ

สำหรับผู้ชายหรือผู้หญิงที่รักการออกกำลังกาย คุณควรจะอาบน้ำหลังจากออกกำลังกายหรือหลังจากที่มีเหงื่อออกทันทีเนื่องจากเหงื่ออาจจะทำให้รูขุมขนอุดตันได้ สำหรับผู้ชายที่มีปัญหาสิวอุดตันแนะนำให้ใช้โฟมล้างหน้าสำหรับผู้ชายสูตรแก้ปัญหาสิวอุดตัน โดยเฉพาะเพราะจะเหมาะสมกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าสำหรับสูตรผู้หญิงค่ะ

4. แก้ปัญหาสิวเสี้ยน

การเกิดสิวเสี้ยนนั้นถือเป็นเรื่องปกติของทุกคน ซึ่งก็มีวิธีในการกำจัดสิวเสี้ยนด้วยแผ่นลอกสิวเสี้ยน หรือเครื่องดูดสิวเสี้ยน ที่มีประสิทธิกำจัดสิวเสี้ยนได้ดี โดยหลังทำการกำจัดสิวเสี้ยนทุกครั้งควรใช้ความเย็นประคบ เพื่อป้องกันไม่ให้รูขุมขนกว้างด้วยนะคะ

5. เส้นผม ปัจจัยการเกิดสิว

หลาย ๆ คน ก็ลืมไปว่าเส้นผมที่ปล่อยมาโดนหน้าเราทุก ๆ วันนั้น ก็อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวได้ เพราะหากเส้นผมของคุณไม่สะอาดหรือคุณมีการใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม รวมถึงคุณอาจจะมีอาการแพ้แชมพูและแพ้คอนดิชั่นเนอร์ สิ่งเหล่านี้ก็จะส่งผลให้เกิดเป็นสิวที่บริเวณใบหน้าเช่นกันค่ะ แนะนำให้คุณเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีน้ำมัน เพราะความมันบนเส้นผมนั้น สามารถไปโดนผิวหน้าได้ อย่าลืมพยายามเก็บผมของคุณให้สัมผัสใบหน้าให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ

วิธีง่าย ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นจะทำให้ลดการเกิดสิวได้ ดังนั้นควรนำไปปฏิบัติตามนะคะ เพราะการรักษาความสะอาดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ค่ะ หากไม่รักษาความสะอาดไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดสิว แต่อาจจะก่อให้เกิดโรคผิวหนังอีกด้วย นอกจากนี้เราขอแนะนำให้คุณควรดื่มน้ำสะอาด วันละ 8 แก้วอย่างน้อย เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิวและทำให้ผิวดูเต่งตึงค่ะ

References:

  1. Vitamin A : Fact Sheet for Health Professionals
  2. Acne clinical guideline
  3. Zinc : Fact Sheet for Health Professionals
  4. The clinical effects of zinc as a topical or oral agent on the clinical response and pathophysiologic mechanisms of acne: a systematic review of the literature
  5. Multicenter randomized comparative double-blind controlled clinical trial of the safety and efficacy of zinc gluconate versus minocycline hydrochloride in the treatment of inflammatory acne vulgaris
  6. Vitamin D : Fact Sheet for Health Professionals
  7. Comparison of Vitamin D Levels in Patients with and without Acne: A Case-Control Study Combined with a Randomized Controlled Trial
  8. Hormonal and dietary factors in acne vulgaris versus controls
  9. Anti-inflammatory Action of Green Tea
  10. Does supplementation with green tea extract improve acne in post-adolescent women? A randomized, double-blind, and placebo-controlled clinical trial
  11. Effects of fish oil supplementation on inflammatory acne
  12. A randomized, double-blind, placebo-controlled study of a novel pantothenic Acid-based dietary supplement in subjects with mild to moderate facial acne
  13. Cannabidiol exerts sebostatic and antiinflammatory effects on human sebocytesCannabidiol exerts sebostatic and antiinflammatory effects on human sebocytes
Bình luận đã bị đóng.