Wat Bowonniwet Vihara
ทูลกระหม่อมพระ เจ้าฟ้าใหญ่ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) เสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร ในวันพุธที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๙ เสด็จอยู่ในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๔ ปี สองเดือน แปดวัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ ทูลกระหม่อมพระ เจ้าฟ้าใหญ่ ทรงลาผนวช และเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๔ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ เจ้าอาวาสสืบต่อจากทูลกระหม่อมพระคือ:
๒.) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) เจ้าอาวาสองค์ที่สอง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๓๕.
๓.) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาค มาณพ) เจ้าอาวาสองค์ที่สาม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๖๔.
๔.) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (มรว ชื่น นพวงศ์) เจ้าอาวาสองค์ที่สี่ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๕๐๑.
๕.) พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) เจ้าอาวาสองค์ที่ห้า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๔.
๖.) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เจ้าอาวาสองค์ที่หก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๕๗.
๗.) สมเด็จพระวันรัต (จุณฑ์ พรหฺมคุตฺโต) เจ้าอาวาสองค์ที่เจ็ด ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๕.
๘.) พระธรรมวชิรญาณ (จีรพล อธิจิตฺโต) เจ้าอาวาสองค์ที่แปด มีนาคม ๒๕๖๖-ปัจจุบัน
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิาหร องค์ที่สอง
ประสูติ: ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒
เจ้าอาวาส: ๒๓๙๔ – ๒๔๓๕
สิ้นพระชนม์:๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕
พระประวัติพระเจ้าบรมวงษ์เธอ
กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ บวรรังษีสุริยพันธุ์ ปียพรหมจรรย์ธรรมวรยุต ปฏิบัติสุทธคณนายก ธรรมนิติสาธกปวรัยยะบรรพชิต สรรพธรรมิกกิจโกศล สุวิมลปรีชา ปัญญาอรรคมหาสมณุตม บรมพงษาธิบดี จักร กรีบรมนารถ มหาเสนานุรักย์ อนุราชวรางกูร ปรมินทร บดินทร สูรย์หิโตปักยาจารย์ มโหฬาร เมตยาภิขยาไศรย์ ไตรปิฎก โหรกลาโกศล เบญจ ปดลเสวตรฉัตร ศิริรัตโนปลักษณ มหาสมณุตมาภิเศกาภิสิต ปรมุกฤษฐสมณศักดิธำรง มหาสงฆปริยายก พุทธสาสนดิลก โลกุตมมหาบัณฑิตย์ สุนทรวิจิตร ปฏิภาณ ไวยัตติยญาณมหากระวี พุทะาทิศรีรัตนไตรคุณารักษ์ เอกอรรคมหาอนาคาริยรัตน สยามาธิ โกลยปฏิพัทธพุทธปริสัษยเนตร สมณคณินทราธิเบศร สกลพุทธจักโรปการกิจ สฤษดีศภการ มหาปาโมกษประธาน วโรดม บรมนารถบพิตร เปนพระโอรสที่ ๑๘ ใน กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ประสูตร ณ วัน พฤหัสบดี เดือนสิบ ขึ้นหกค่ำ ปีมเสงเอกศก จุลสักราช ๑๑๗๑ ตรงกับวันที่ ๑๔ กันยายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๘ เวลา ๔ ทุ่มเศษ ซึ่งเป็นวันเริ่มสวดมนต์ ตั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเศก ในพระบาทสมเด็จ พระพุทธะเลิศหน้นภาไลย พระบาทสมเด็จ พระพุทธะเลิศหน้นภาไลย พระราชทานพระนามว่า พระองค์เจ้าฤกษ์ เมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้รับพระราชทานอุปราชาภิเศก เฉลิมพระราชมณเฑียรแล้ว ท่านได้ดำรงพระยศอย่างพระองค์เจ้า ในพระราชวังบวร ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละชั่งหนึ่ง เงินเดือนๆละตำลึงกึ่ง เมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทิวงคตแล้ว ได้เสด็จมาอยู่ในพระราชวังหวลวง ด้วยสมเด็จพระเจ้าอัยยิกาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดีซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้านอ้งนางเธอ ในเวลานั้นบางคราว เพราะน้อย เจ้าจอมมารดาของท่านได้เคยเป็นข้าหลวง ของสมเด็จพระเจ้าอัยยิกาเธอพระองค์นั้นมาแต่ก่อน สมเด็จพระเจ้าอัยยิกาเธอพระองค์นั้น ได้ทรงนำท่านไปถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ครั้งยังทรงพระเยาส์อยู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว ซึงได้ทรงคุ้นเคยกับท่านเปน อย่างยิ่ง เมื่อเสด็จมาอยู่พระราชวังหลวงนั้น ท่านได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดขึ้นอีกปีละชั่งหนึ่งรวมปีละสองชั่ง เมื่อปีมเมีย จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๘๔ ทรงผนวชเป็นสามเณร เสด็จอยู่วัดมหาธาตุ สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ทรงเรียนมูลกัจจายนะ ในสำนักพระญาณสมโพธิ (รอด) ชำนิชำนาญ ได้ไล่สูตรมูลในที่ประชุมอาจารย์ ที่พระราชวังเดิม ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ครั้งยังดำรงพระยศเปนพระเจ้าลูกยาเธออยู่ ทรงผนวชเปนสามเณรได้ ๔ พรรษา ถึงแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชวรพระโรคทรพิษ ลาผนวชออกมารักษา พระองค์หายแล้ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ โปรดให้ทรงผนวชเป็นสามเณรที่พระรบวรราชวังอีกครั้งหนึ่ง ทรงผนวชมาจนถึงปีฉลูเอกศก จุลศักราช ๑๑๙๑ ครบกำหนดทรงผนวชเปนภิกษุ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ให้ลาผนวชออกมาสมโภช แลแห่พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ที่จะทรงผนวชเปนสามเณรในเวลานั้น ในการทรงผนวชเป็นภิกษุนั้น สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เปนพระอุปัชฌายะ สมเด็จพระเจ้าไอยกาเธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส แลพระวินัยรักขิตวัดมหาธาตุ เป็นพระกรรมวาจาจารย์แลอนุสาวนาจารย์ ภายหลังได้ทรงอุปสมบทในนทีสีมา เพื่อเปนการมั่นอีกครี้งหนึ่ง พระสุเมธาจารย์ (พุทธวังสะ) เปนพระอุปัชฌายะ พระบาทสมเด้จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปนพระกรรมวาจาจารย์ ทรงศึกษาพระปริยัติธรรม ในสำนักพระวิเชียรปรีชา (ภู่) เจ้ากรมราชบัณฑิตย์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถิตในสมณศักดิ ที่พระราชาคณะแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานตาลปัตรพื้นตาดปักเลื่อมสำหรับยศเปรียญ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอยู่แต่เดิม ให้ท่านทรงถือมา พระราชทานนิตยภัตรเดือนละสองตำลึง เมือ่ปีวอกอัฐศก จุลศักราช ๑๑๙๘ พระบาสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาประทับวัดบวรนิเวศวิหาร ท่านได้ตามเสด็จมาอยู่ด้วย ในปีรกาเอกศก จุลศักราช ๑๒๑๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้ดำรงสมณศักดิ์ ที่พระราชาคณะ ได้รับพระราชทานตาลปัตร แฉก ถมปัตรแลเครื่องยศ สำหรับพระราชาคณะพร้อมทุกอย่าง พระราชทานนิตยภัตรเดือนละ ๓ ตำลึง ตั้ง ถานานุกรมได้สองรูปคือพระปลัด ๑ พระสมุห์ ๑ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คงได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละสองชั่งตามเดิม ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณปีกุนตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓ ทรงพระมหากรุณาโปรดสถาปนาชึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัตรว่า พระเจ้าวรวงษ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษีสุรียพันธุ์ ปียพรหมยรรย์ธรรมวรยุต ปฏิบัติสุทธคณะนายก พุทธสาสนดิลกบวรัยยะบรรพชิต สรรพธรรมิกกิจโกศล สุวิมลปรีชา ปัญญาอรรค มหาสมณุดม บรมบพิตร เสด็จสถิตณวัดบวรนิเวศราชวรวิหารพระอารามหลวง เปนเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย พระราชทานตาลปัตรแฉกพื้นตาดปักเลื่อม ๑ ตาลปัตรแฉกงา๑ แลเครื่องยศถมปัตร สำหรับพระองค์เจ้าต่างกรม มีพานพระศรีเต้าน้ำแลบ้วนพระโอษฏ์เปนต้น พระราชทานนิตยภัตเดือนละห้าตำลึง เบี้ยหวัดขึ้นเปน ปีละ ๑๐ ชั่ง ๑๒ ชั่ง ๑๕ ชั่งโดยลำดับ ตั้งถานานุกรมได้ ๑๑ รูป คือ พระครูมหานุนายกธรรมยุติกดิลกโลกยประสาทานุบาล มหาเถรานุฐานกิจการี คณาธิบดีศรีรัตนสรณาคมกาจารย์ พระครูปลัดขวา มีนิตยภัตรเดือนละสองตำลึง ภายหลังขึ้นเปนเดือนละสามตำลึง ๑ พระครูจุลานุนายกตริปิฎกฆรานุรักษ์ คณะกิจพิทักษ์ธุระวาหนกิจการี คณะสีลวิโสธกาจารย์ พระครูปลัดซ้าย มีนิตยภัตรเดือนละตำลึงกึ่ง ๑ พระครูพุทธะมนตปรีชา มีนิตยภัตรเดือนละตำลึงกึ่ง ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูอเนกสาวัน ๑ พระครูอนันตประกาศ ภายหลังเปลี่ยนเปนพระครูอนันตนินนาท ๑ พระครูสังฆบริบาล ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ ในเวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเปนสามเณร ได้ทรงถืออุปัชฌายและสมเด็จอยู่ในสำนักพระองค์ท่าน ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ท่านได้ทรงแนะนำให้ทรงปฏิบัติในธรรมวินัย แลให้ทรงศึกษาในวิทยาบางสิ่งมิโชยติศาสตรเปนต้น ในแผ่นดินปัตยุบันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชเปนพระภิกษุ ได้ทรงถืออุปัชฌายในสำนักพระองค์ท่านอีก ท่านได้เสด็จเข้าไปประทับแรม ในพระพุทธรัตนสถานมณฑิรารามในพระบรมมหาราชวัง ถวายโอวาทในทางธรรมวินัย จนตลอดกาลทรงผนวช เมื่อปีจอ ฉศก จุลศักราช ๑๒๓๖ ทรงพระมหากรุณาโปรด สถาปนาเลื่อนขึ้นเปนกรมพระ ให้มีพระเกียรติยศ เสมอพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ในพระบรมมหาราชวัง เพิ่มต้นพระนามแลสร้อยพระนาม ตามจารึกในพระสุพรรณบัตรว่า พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ บวรรังษีสุริยพันธุ์ ปิยพรหมจรรย์ธรรมวรยุต ปฏิบัติสุทธะคณะนายก พุทธสาสนดิลก บวรัยยะบรรพชิต สรรพธรรมิกกิจโกศล สุวิมลปรีชา ปัญญาอรรค อนาคาริยรัตโนดม พุทธวราคมโหรกลากุสโลภาศ ปรมินทรมหาราชหิโตปัธยาจารย์ มโหฬารเมตยาภิธยาไศรย พุทธาทิศรีรัตนไตรคุณารักษ์ อุกฤษฐศักดิ์ สกลสังฆปาโมกษ์ ประธานาธิบดินทร มหาสมณคะณินทร วโรดม บรมบพิตร พระราชทานพานพระศรี บ้วนพระโอษฏ์ขันสรงพระภักตร์กระ แลนิตยภัตรเดือนละสิบตำลึง เบิ้ยหวัดปีละสามสิบชั่ง เมื่อรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๐ ทรงพระราชดำริห์ว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเจริญพระชนมายุ ไม่มีพระบรมวงษานุวงษ์พระองค์ใด ในพระบรมราชตระกูลอันนี้ ที่ล่วงลับไปแล้วก็ดี ยังดำรงอยู่ก็ดี ที่จะมีพระบนมายุเทียมถึง แลเปนพระบรมราโชปัธยาย ทั้งทรงคุณธรรมเปนที่นับถือของอเนกชนนิกร ทั้งคฤัสถ์แลบรรพชิตทั่วหน้า สมควรที่จะดำรงในพระเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ได้ จึงทรงพระมหากรุณาโปรดตั้งพระราชพิธี มหาสมณุตมาภิเศก เลื่อนพระเกียรติยศขึ้นเปนกรมสมเด็จพระ มีพระนามตามกล่าวมาแล้วในเบื้องต้น พระราชทานเสวตรฉัตรห้าชั้น แลตาลปัตรแฉกพื้นตาดพัดรองปักตรา มหาสมณุตมาภิเศก พานพระศรีพระเต้าน้ำบ้วนพระโอษฏ์ทองขาวซึ่งเป็นเครื่องราชูปโภค แลพระวอช่อฟ้า เรือพระที่นั่งศรี เปนพระเกียรติยศ พระราชทานนิตยภัตรเปนยศบูชา เดือนละ ๑๒ ตำลึง เบี้ยหวัดปีละ ๓๕ ชั่ง เพิ่มถานานุกรมขึ้นอีก ๔ รูป คือ พระครูสังฆกรรมานุโยค ๑ พระครูวราโภคสังฆกิจ ๑ สองรูปนี้ มีนิตยภัตรเดือนละ ๒ ตำลึง พระครูคหาปณานุกิจ ๑ พระครูพิพิธภัณฑวิภัชน์ ๑ สองรูปนี้มีนิตยภัตรเดือนละตำลึงกึง รวมเป็น ๑๕ รูป เพิ่มนิตยภัตรพระครูปลัดจุลานุนายก เปนเดือนละสามตำลึง พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์นี้ ได้เปนพระบรมราโชปัธยาย แลเปนพระอุปธยายของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช กรมพระราชวัง เจ่้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า ในพระบรมราชตระกูลนี้ แลเจ้าประเทศราช ข้าราชการเปนอันมาก ทรงคุณธรรมเปนที่นับถือของประชาชนทั่วไป
วันที่ ๑๓ กันยายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑ พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงพระประชวรพระโรคชรา ไม่ไปพระบังคนหนัก แลได้ทรงหนาวเนืองๆ หมื่นคุณแพทยพิทยากรรม ถวายพระโอสถแก้หนาว สงบได้เปนคราวๆ ถวายยาปัดหาไปพระบังคนไม่ วันที่ ๑๗ ทรงพระอาเจียร เสวยพระอาหารไม่ใคร่ได้ ประทมไม่ใคร่หลับ วันที่ ๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชวร ทรงพระรุณาโปรดพระราชทาน พระยาอมรศาสตรประสิทธิศิลป์ หลวงโรคนิทาน หมื่นคุณแพทยพิทยากรรม หมอยา หลวงราโชวาต หมื่นสรรพชาติวาโย หมื่นพิทักษ์ภูบาล หมอนวด วันที่ ๒๑ มีพระอาการร้อนแลเสียด หมอถวายพระโอสถ แลถวายอยู่งานระงับเปนคราวๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยม ประชวรอีกคราวหนึ่ง ในวันนี้เปนวันอุโบสถ ท่านมีพระประสงค์จะเสด็จไปทำอุโบสถ ที่พระอโบสถ เพราะตั้งแต่ทรงผนวชมา ได้เคยทรงทำอุโบสถทุกวันอุโบสถ ไม่เคยขาดเลย แม้ประชวรจะทรงพระดำเนินไปไม่ได้ ก็โปรดให้เชิญเสด็จไป แม้ในคราวนี้ ก็จะโปรดให้เชิญเสด็จไปเหมือนเช่นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเกรงว่า ถ้าเสด็จไป พระโรคจะกำเริบมากขึ้น จึงทรงพระราชอุทิศที่บริเวณ ณ พระตำหนักนั้นเปนวิสุงคามสีมา เพื่อสงฆ์จะได้ประชุมทำอุโบสถในที่นั้น ให้เปนการสมพระประสงค์ของท่าน แลไม่ต้องเชิญเสด็จท่านไปถึงพระอุโบสถ วันที่ ๒๓ ไปพระบังคนหนักครั้งหนึ่ง วันที่ ๒๕ ไปพระบังคนหนักอีกครั้ง เสวยพระอาหารนอ้ยลง มีพระอาการอ่านเปลี้ย ถอยพระกำลัง วันที่ ๒๗ เสวยพระกระยาไม่ได้ เสวยได้แต่ผลไม้แลยาคู ประทมไม่หลับ วันที่ ๒๘ กันยายน มีพระอาการอ่อนแลระหาย เวลาสามยามเศษไปพระบังคนหนักครั้งหนึ่งแล้ว ทรงหอบมาจนถึงเวลา ๑๑ ทุ่ม กับ ๓ นาที สิ้นพระชนม์ พระชนมายุได้ ๘๓ ปี สถิตในมหาสมณุตมาภิเศกได้ ๑๐ เดือน
สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร องค์ที่สาม
ประสูติ: ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๓
เจ้าอาวาส: ๒๔๓๕ – ๒๔๖๔
สิ้นพระชนม์:๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร องค์ที่สี่
ประสูติ: ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๕
เจ้าอาวาส: ๒๔๓๕ – ๒๔๖๔
สิ้นพระชนม์: ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑
พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร องค์ที่ห้า
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศองค์ที่หก
ประสูต: ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖
ครองวัด: ๒๕๐๔-๒๕๕๖
สิ้นพระชนม์: ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
พระชาติภูมิ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงมีพระนามเดิมว่าจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ณ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ทรงเป็นบุตรคนโตของนายน้อย คชวัตร และนางกิมน้อย คชวัตร ทรงมีน้องชาย ๒ คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และนายมสุทร คชวัตร ได้ทรงมาอยู่ในความดูแลของป้าเฮงซึ่งเป็นพี่สาวของนางกิมน้อย
การบรรพชาและอุปสมบท
พุทธศักราช ๒๔๖๙ ทรงบรรพชาที่วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) จังหวัดกาญจนบุรี พระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทฺธโชติ) ต่อมาคือพระเทพมงคลรังษี เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล
เมื่อทรงบรรพชาแล้วทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม ๑ พรรษา และได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดเสนหา จังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น พระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พามายังวัดบวรนิเวศวิหาร และนำขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมาคือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่อทรงอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี” จนกระทั่งพระชันษาครบอุปสมบทจึงเสด็จกลับไปผนวชที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๖ พระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทฺธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามพระอุปัชฌาย์ พระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระกรรมาจาจารย์ และพระปลัด หรุง นามสกุล เซี่ยงฉี่ เจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๖ ผนวชแล้วทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม ๑ พรรษา
ภายหลังจึงเสด็จมาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรม และได้ทรงทำทัฬหีกรรม (อุปสมบทซ้ำ) ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ ชื่น สุจิตฺโต ป. ๗) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ ป. ๗) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
การศึกษา
ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้น ณ โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม จบชั้นประถม (เทียบชั้นมัธยม ๒) หลังจากทรงบรรพชาแล้ว ทรงเรียนพระปริยัติธรรมและทรงสอบไล่ได้ชั้นต่างๆ เป็นลำดับมาในสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร ดังนี้
พุทธศักดราช ๒๔๗๒ ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรี
พุทธศักดราช ๒๔๗๓ ทรงสอบได้นักธรรมชั้นโท และ ป.ธ. ๓
พุทธศักดราช ๒๔๗๕ ทรงสอบได้นักธรรมชั้นเอก และ ป.ธ. ๔
พุทธศักดราช ๒๔๗๖ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๕
พุทธศักดราช ๒๔๗๗ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๖
พุทธศักดราช ๒๔๗๘ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๗
พุทธศักดราช ๒๔๘๑ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๘
พุทธศักดราช ๒๔๘๔ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๙
สมณศักดิ์
พุทธศักดราช ๒๔๙๐ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระโสภนคณาภรณ์
พุทธศักดราช ๒๔๙๔ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามเดิม
พุทธศักดราช ๒๔๙๘ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม
พุทธศักดราช ๒๔๙๙ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์
พุทธศักดราช ๒๕๐๐ ทรงได้รับพระราชทานพัดรัตนาภรณ์
พุทธศักดราช ๒๕๐๔ ทรงเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัณยบัฏ ที่ พระศาสนโสภณ
พุทธศักดราช ๒๕๐๕ ทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร
พุทธศักดราช ๒๕๓๒ ทรงได้รับพระราชทานสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน มีพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติภิบาล อริยวงศาครญาณวิมล สกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฏกปริยัติธาดา วิสุทธจรยาธสมบัติ สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต ปาวจนุตตมพิสาร สุขุมธรรมวิธานธำรง วชิรญาณสงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนุคณ วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร บวรธรรมบพิตร สรรพคณิศรมหาปธานาธิบดี คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช” ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ลำดับที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พุทธศักราช ๒๕๓๖ ทรงได้รับพระราชทานพัดยศพิเศษ (งาประดับพลอย) และพัดรัตนาภรณ์พิเศษ
สมเด็จพระวันรัต (จุนฑ์ พฺรหฺมคุตฺโต)
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร องค์ที่เจ็ด
พระธรรมวชิรญาณ (จิรพล อธิจิตโต)
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร องค์ที่ แปด